การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิต
การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ
เป็นการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศเป็นลำดับขั้น โดยมีปัจจัยต่างๆ
ทั้งทางกายภาพ และชีวภาพ จนกลายเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก
เรียกว่า Climax community แบ่งเป็น 2
ประเภท คือ
1. การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ
(Primary succession)
เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตนั้นมาก่อน
แต่ต่อมามีกลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งปรากฏขึ้น
และมีการแทนที่กันจนในที่สุดได้กลุ่มสิ่งมีชีวิตขั้นสุดท้าย เช่น
พื้นที่ที่ไม่เคยมีหญ้าขึ้นมาก่อน ต่อมามีหญ้าญี่ปุ่นเกิดขึ้น
ในเวลาต่อมามีหญ้าแห้วหมูขึ้นทำให้หญ้าญี่ปุ่นค่อย ๆ
ลดจำนวนลงจนกระทั่งพื้นที่นั้นเป็นหญ้าแห้วหมูทั้งหมด
2.การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ
(Secondary succession)
เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เริ่มในบริเวณซึ่งเคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อน
แต่ถูกทำลายไป โดยมนุษย์ สัตว์หรือภัยธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม วาตภัย
การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิใช้เวลาน้อยกว่าแบบปฐมภูมิ
การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศที่พบในปัจจุบัน
สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
-->ไลเคน
-->มอส -->เฟิน -->ไม้ล้มลุก -->ไม้พุ่ม -->ไม้ยืนต้น -->ป่า
2.การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในแหล่งน้ำ
(Hydrosere) เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิตใน
แหล่งน้ำที่ตื้นเขินจนกลายเป็นระบบนิเวศบนบก
มีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
(1) ระยะบุกเบิก (Pioneer stage) เริ่มต้นจากสระที่น้ำยังลึก
สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ เป็น สาหร่ายเล็กๆ แบคทีเรียโปรโตซัว
(2) ระยะที่มีพืชใต้น้ำ (Submerged
vegetation stage) เกิดเมื่อสิ่งมีชีวิตในระยะบุกเบิกตายและเกิดการทับถมกลายเป็นสารอาหารให้กับพืชน้ำได้อย่างเพียงพอ
เช่น สาหร่ายขนาดใหญ่ และพบปลา หอย ตัวอ่อนแมลง ที่กินสาหร่ายเป็นอาหาร
(3) ระยะที่มีพืชโผล่พ้นน้ำ (Emerging
vegetation stage) ระยะนี้ก้นสระมีการทับถมมากขึ้น บ่อเริ่มตื้น
มีพืชหลากหลายชนิดขึ้น เช่น กก หญ้า ไม้ล้มลุก และสัตว์ เช่น กุ้ง แมลง ปลา กบ
ปลิง
(4) ระยะเกิดที่ลุ่ม น้ำขัง (Temporary
pond and prairie stage) บ่อน้ำเริ่มแห้ง ตื้นเขิน
มีน้ำขังเป็นแอ่งๆ พบไม้ล้มลุกที่เจริญในพื้นที่ชื้นแฉะ พบสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
(5) ระยะที่มีไม้ยืนต้น (Beech
and maple forest stage / Climax forest stage) พื้นที่ไม่มีน้ำขัง
กลายเป็นพื้นดินทั้งหมด มีพืชล้มลุก ไม้พุ่ม ไม่ยืนต้นเกิดขึ้นตามลำดับ
และเปลี่ยนสภาพไปเป็นป่าซึ่งเป็น Climax community (สังคมสมบูรณ์)
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแทนที่ มีดังนี้
1.ปัจจัยทางกายภาพ เป็นปัจจัยที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น น้ำ อากาศ ภูมิประเทศ และภัยธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว น้ำท่วม ถ้าเกิดจากภัยธรรมชาติจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงจากสภาพบริเวณบนบกเป็นแหล่งน้ำ
2.ปัจจัยทางชีวภาพ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต เช่น
ต้นมะม่วงที่เคยมีมดแดงอาศัยอยู่ เมื่อมีมดดำย้ายมาอยู่ จำนวนประชากรมดแดงจะค่อย ๆ
ลดลงจนหมดไป พื้นที่นั้นจึงมีแต่หญ้ามาเลเซีย
การเปลี่ยนแปลงแทนที่ทำให้สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพเปลี่ยนแปลงไป
และมีผลทำให้องค์ประกอบของระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปด้วย